บทความทางวิชาการ
เชื้อที่เป็นสาเหตุของโรค PRRS จะเข้าสู่ Alveolar Macrophage เพื่อใช้เป็นที่เพิ่มจำนวนเชื้อให้มีปริมาณมากขึ้น และทำให้ Alveolar Macrophage ถูกทำลายในที่สุด การที่ Alveolar Macrophage ถูกทำลาย จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ร่างกายอ่อนแอและติดเชื้อจากภาวะแทรกซ้อนจากโรคอื่นๆ ได้โดยง่าย
ปัญหาความสูญเสียส่วนใหญ่ที่เกิดในหมูอนุบาล ก็เนื่องจาก ในหมูอนุบาลระบบการสร้างภูมิคุ้มกันยังไม่มีความพร้อม ประกอบกับเม็ดเลือดขาวที่ร่างกายผลิตมาได้มีปริมาณน้อย ส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอทำให้เกิดภาวะการติดเชื้อได้โดยง่ายและตายในที่สุด
ส่วนปัญหาที่พบในฝูงแม่พันธุ์ สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการที่เชื้อเข้าไปทำลายระบบสืบพันธุ์ โดยเฉพาะสายสะดือ (ช่องทางลำเลียงสารอาหารและอากาศให้ลูกในท้อง) ของลูกสุกร ทำให้เกิดภาวะอักเสบจนทำให้เกิดการแท้งหลายลักษณะและการตายแรกคลอดสูง
เมื่อสารต้านไวรัส ที่ยับยั้ง (Inhibit) ขบวนการ Fusion เข้าไปยับยั้งขบวนการเพิ่มจำนวนของเชื้อโดยป้องกันการเข้าสู่เซลล์ของ Alveolar Macrophage ทำให้ Alveolar Macrophage ทำหน้าที่ได้อย่างสมบรูณ์และระบบภูมิคุ้มกันจะทำหน้าที่กำจัดไวรัสที่อยู่ภายนอกเซลล์ได้
ผลที่ได้รับจากการใช้
ในสุกรขุน
- อาการ หอบไอลดลง เมื่อมีการใช้ร่วมกับยาปฏิชีวนะ
- การกินอาหารดีขึ้น ได้น้ำหนัก
- การใช้ยาในการควบคุมโรคลดลง
การเข้าเซลล์ Alveolar Macrophage ของไวรัส PRRS
ความสัมพันธุ์ระหว่าง ค่า pH และการ Fusion
การติดเชื้อในแม่สุกร
ผลการใช้สารต้านไวรัส ในแม่พันธุ์
ในแม่พันธุ์
- การกลับสัดของแม่ลดลง
- ลดอัตราการแท้งและการสูญเสียเนื่องจากการติดเชื้อ PRRS
- การกินอาหารดีขึ้น
- ลูกแรกคลอดได้น้ำหนักดีขึ้น
- เปอร์เซนต์แม่พันธุ์ ที่เกิดสภาวะนมแห้ง จาก PRRS ลดลง
ผลการใช้สารต้านไวรัส ในสุกรอนุบาล
ในสุกรอนุบาล
- อาการ ตาบวม ตาแดง ตาแฉะ ลดลง
- อาการ หอบไอลดลง เมื่อมีการใช้ร่วมกับยาปฏิชีวนะ
- อัตราการกินอาหารดีขึ้น
- น้ำหนักตัวดีขึ้น ความสม่ำเสมอของฝูงดีขึ้น (ไม่แตกขนาด)
- อัตราการตายและการคัดทิ้งลดลง
PRRS เป็น RNA ไวรัสที่อยู่ในกลุ่มของ Arteriviridae
รูปแบบการเข้าเซลล์ของ PRRS อยู่ในรูปแบบที่ 5
< ย้อนกลับ | ถัดไป > |
---|